อาหารไทยภาคเหนือ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อาหารเหนือ
  อาหารไทยภาคเหนือ
                                                             
ภาคเหนือ หรือล้านนา มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสลับพื้นที่ราบระหว่างภูเขา  ทำให้ในฤดูหนาวมีอากาศที่หนาวจัด ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เพราะอยู่ห่างไกลจากทะเล  และมีป่าไม้มากจึงถือเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย  ได้แก่  แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน  ภาคเหนือมี 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี

อาหารไทยภาคเหนือ มีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลักของอาหารไทยภาคนี้ มีน้ำพริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงฮังเล อีกทั้งยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่างๆ สภาพอากาศเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารไทยภาคเหนือมีความแตกต่างจากอาหารไทยภาคอื่นๆ คือ ในฤดูหนาวภาคเหนือจะมีอากาศที่หนาวจัด ทำให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งยังนิยมนำพืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค นำมาทำแกงแค บอน นำมาทำ     แกงบอน เป็นต้น

ลักษณะของอาหารท้องถิ่นไทยภาคเหนือ
   
            1. รสชาติ  อาหารภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาล ความหวานจะได้จากส่วนผสมที่นำมาทำอาหาร เช่น ความหวานจากผัก จากปลา ไขมันจะได้จากน้ำมันของสัตว์ สัตว์ที่นิมนำมาประกอบอาหารจะเป็น หมู ไก่ เนื้อ และปลาน้ำจืด
            2. รูปร่างลักษณะของอาหาร การทานอาหารของคนภาคเหนือ จะใช้โต๊ะข้าวที่เรียกว่า "ขันโตก" แทนโต๊ะอาหาร  ทำด้วยไม้รูปทรงกลม  มีขาสูงพอที่จะนั่งร่วมวง และหยิบอาหารได้สะดวก ในปัจจุบันกลายเป็นการจัดเลี้ยงที่นิยมเรียกว่า "งานเลี้ยงขันโตกดินเนอร์" ซึ่งจะมีรายการอาหารที่จัด  ดังนี้ ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก แกงฮังเล ลาบคั่ว (ไม่นิยมรสเปรี้ยว ปรุงรสเค็มนำ นำไปผัดกับน้ำมันให้สุก) ไส้อั่ว แคบหมู จิ้นทอด (หมูทอด) น้ำพริกหนุ่มหรือน้ำพริกอ่อง ผักสด ผักต้ม                                  
              3. กลิ่นและสี  มะแขว่น หรือ พริกหอม เป็นไม้ยืนต้นที่ชาวเหนือนิยมนำผลและเมล็ดแห้งมาประกอบอาหาร  เนื่องจากผลแห้งมีกลิ่นหอมแรงและมีรสเผ็ดร้อน ทำให้ช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยมากขึ้น            
            4. เครื่องเคียง เช่น ข้าวซอย มีหัวหอมและผักกาดดองเป็นเครื่องเคียง และมีมะนาวและพริกผัดเป็นเครื่องปรุง


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
                                                                                                       ข้าวซอย


พูดถึงภาคเหนือ หลายๆคนต้องคิดถึง "น้ำพริกหนุ่ม" กันใช่ไหมเอ๋ย? 

น้ำพริกหนุ่ม คือ อาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป ทำจากพริกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "พริกหนุ่ม" อาจจะใช้พริกหนุ่มที่แก่จัดหรือยังไม่แก่จัดก็ได้ แต่ส่วนมากใช้พริกหนุ่มที่ยังไม่แก่จัด นำหอม และกระเทียม มาย่างและโขลกส่วนผสมและเกลือ รับประทานกับแคบหมู ผัก ข้าวเหนียว บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ (เลิฟเลยอันนี้ 😍)


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
                                                                                                    น้ำพริกหนุ่ม

มาต่อกันที่ " ไส้อั่ว " กันดีกว่าาา 👇👇👇

ไส้อั่ว  เป็นไส้กรอกพื้นเมืองของภาคเหนือ ทำจากเนื้อหมูผสมเครื่องแกง  คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง  การทำไส้อั่วเป็นวิธีการถนอมอาหาร ทำให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้นอีกด้วย เก็บได้ประมาณ 1-2 วันเลย จะทานแบบปิ้งหรือทอดก็อร่อยจ้าาา
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไส้อั่ว
                                                                                                        ไส้อั่ว


แกงฮังเล หรือ แกงฮินเล เป็นอาหารไทยประเภทแกงรสชาติเค็มเปรี้ยว แกงฮังเลมีต้นกำเนิดจากประเทศพม่า โดยคำว่า "ฮิน" ในภาษาพม่า หมายถึง แกง และ "เล" ในภาษาพม่า หมายถึง เนื้อสัตว์ แกงฮังเลได้รับความนิยมจากชาวไทยภาคเหนือและแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน

แกงฮังเลมีสองแบบคือแบบม่านและแบบเชียงแสน โดยแบบม่านได้รับความนิยมมากกว่า แกงฮังเลม่านรสชาติออกเปรี้ยวเค็ม น้ำขลุกขลิก ใส่ขิง น้ำมะขามเปียก กระเทียมดอง ถั่วลิสง น้ำตาลอ้อย ส่วนแกงฮังเลเชียงแสนเพิ่มถั่วฝักยาว พริก หน่อไม้ดอง งาคั่ว ส่วนประกอบสำคัญ คือ ผงแกงฮังเลหรือผงมัสล่า  ซึ่งเป็นผงเครื่องเทศแบบผสมแบบเดียวกับการัม มาซาลาของอินเดีย น้ำพริกแกงประกอบด้วยพริกแห้ง เกลือ ข่าแก่ ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง (อยากกินจังเลยยย😋)
 
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
แกงฮังเล

แคบหมู  เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมันและไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิมนิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนมจ้าาา 💛💙💛

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
แคบหมู

มาถึงเมนูสุดท้าย เมนูน้ำยาขนมจีนที่เรารู้จักกัน คือ ขนมจีนน้ำเงี้ยว น้ำแกงสูตรเหนือ มีส่วนผสมของน้ำแกงจากกระดูกหมู ผสมเครื่องแกง อย่าง พริก หอมแดง กระเทียม เต้าเจี้ยว ปรุงรสให้เข้มข้น ใส่หมูสับ เลือดหมู บางคนนิยมทานคู่กับหมี่กรอบหรือเส้นขนมจีนก็ได้ (อร่อยจนต้องปรบมือรัวๆ👏)

                                                              รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
                                                                                            ขนมจีนน้ำเงี้ยว


อย่าเพิ่งหนีกันนะเพื่อนๆ ไปต่อกันที่ ภาคอีสาน กันเลยยยยยย 👉


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อาหารไทยภาคใต้

เที่ยวสนุก สุดสุดที่ไต้หวัน

อาหารไทยภาคอีสาน